วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2551

คู่มือการใช้โปรแกรมหัวข้อที่ 1

โปรแกรม Ulead GIF Animator 5
ประวัติความเป็นมาของ Ulead GIF Animator 5
Ulead GIF Animator 5 เริ่มขึ้นมาเมื่อปี 1987 เป็นโปรแกรมทีใช้สร้างภาพเคลื่อนไหว สามารถบรรจุและแก้ไฟล์ได้ถึง 256 สี ผู้ใช้สามารถสร้างภาพเคลื่อนไหว ลงเว็บได้ หรือการทำป้ายโฆษณา และการนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ การสร้างภาพจะถูกเก็บในแฟ้มของ GIFในเวอร์ชั่น 5 เราสามารถดูภาพเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่องเหมือนกับภาพยนต์เล็ก ๆ ผู้สร้างภาพเคลื่อนไหว Ulead GIF ต้องยอมรับว่าดีกว่าในเวอร์ชั่นเมื่อไม่นาน ส่วนมากผู้ใช้ภาพเคลื่อนไหว GIF ยอมรับ ในเวอร์ชั่นใหม่ที่มีเครื่องมือเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม และการทำภาพเคลื่อนไหวในเวอร์ชั่นนี้ มีการยอมรับออปชั่นที่ใช้สำหรับการแก้ไขมากกว่าเดิมการที่เรามองเห็นภาพเคลื่อนไหวมันเป็นเพียงค่าภาพมายา เพราะที่เราเห็นเป็นเพียงรูปภาพของเฟรมที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยในความเป็นจริง พอเฟรมเหล่านี้ถูกจัดกลุ่มเข้าด้วยกันก็จะเห็นเหมือนภาพที่แสดงกำลังเคลื่อนไหว

วิธีการเข้าโปรแกรม Ulead GIF Animator 5
- เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ไปที่เมนู Start à Programs à Ulead GIF Animator 5 หรือดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน
Ulead GIF Animator 5






การใช้งานส่วนประกอบต่าง ๆ ของโปรแกรม
1. เมื่อทำการเปิดโปรแกรมจะขึ้นหน้าต่าง Startup Wizard ให้เราสามารถสร้างหรือเลือกเปิดดูตัวอย่างที่เก็บไว้ในโปรแกรม หรือหากไม่ต้องการเปิดดูตัวอย่างก็กดปุ่ม Close


เป็นการกำหนดขนาดของFrameและสร้างแม่แบบจากที่กำหนดให้



เป็นการสร้างFrameตามขนาดที่กำหนดมาให้


เป็นการเชื่อมต่อแบบออนไลน์



ใช้ในการเปิดไฟล์ภาพ


ใช้ในการเปิดไฟล์วิดีโอ


เป็นการเปิดดูตัวอย่างการใช้งานAnimationที่มีการสร้างไว้แล้ว


2. ลักษณะจอภาพของโปรแกรม Ulead GIF Animator 5 ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆดังนี้



Menu command
Menu command คือ เมนูที่ใช้แสดงชุดคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม Ulead GIF Animator 5 เมื่อคลิกเลือกคำสั่งจะปรากฏคำสั่งย่อยๆ ดังรูป





Standard Toolbar
Standard Toolbar คือแถบเครื่องมือที่แสดงไอคอนคำสั่งต่าง ๆเพื่อให้สามารถเข้าถึงคำสั่งได้ทันที โดยการทำงานของไอคอน คำสั่งจะเหมือนกับการใช้คำสั่งใน Menu command ซึ่งประกอบด้วยไอคอนต่าง ๆดังนี้






Link : คู่มือการใช้งานหัวข้อที่ 2
Link : คู่มือการใช้งานหัวข้อที่ 3
Link : คู่มือการใช้งานหัวข้อที่ 4

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความบันเทิงกับสื่อมัลติมีเดีย

ประเภทของโปรแกรมมัลติมีเดีย จำแนกตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์
1.คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction: CAI)คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI) เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฎิสัมพันธ์ คือ สามารถโต้ตอบระหว่างผู้เรียนกับคอมพิวเตอร์ได้ ซึ่งการใช้สื่อมัลติมีเดียเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
2.เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)เวิลด์ไวด์เว็บเป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ได้รับความนิยมมาก มีลักษณะของการใช้อักษรที่เป็นไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) และมีการสร้างไฮเปอร์ลิงค์ (Hyper Link) เพื่อทำการเชื่อมโยงข้อมูล แต่ละเว็บไซต์จะมีการออกแบบที่สวยงาม มีการนำภาพเคลื่อนไหวต่างๆ (Animation) มาประกอบ บางเว็บไซต์มีเสียงเพลงประกอบ การประยุกต์ใช้สื่อมัลติมีเดียในเวิลด์ไวด์เว็บจึงพบเห็นได้ทั่วไป เพื่อสร้างความบันเทิงแก่คนที่ท่องเว็บไซต์
3.E-learningE-learning (Electronic Learning) คือ การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในปัจจุบันสถานศึกษาหลายๆ แห่งได้มีการใช้ E-learning ประกอบการเรียนการสอน มากยิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเข้าสู่บทเรียนจากบ้านผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผ่านการลงทะเบียน และสามารถทำแบบฝึกหัด และทราบคะแนนได้ทันที นอกจากนี้จะมีภาพวีดิโอการสอนของอาจารย์ให้นักศึกษาได้ชมผ่านอินเทอร์เน็ตด้วย
4.ความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality)ความเป็นจริงเสมือน หมายถึง การที่ผู้ใช้ใส่ถุงมือสัมผัสและจอภาพสวมศีรษะแล้วจะเสมือนเข้าไปอยู่ในความเป็นจริงของสิ่งแวดล้อมที่คอมพิวเตอร์สร้างขึ้น ซอฟต์แวร์ที่เป็น Virtual reality จะใช้วิธีการแสดงผลแบบภาพเคลื่อนไหว เพื่อจำลองสถานการณ์ต่างๆ เสมือนว่าเราได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น จริงๆ มัลติมีเดียจึงมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างความเป็นจริงเสมือน

โปรแกรมที่ใช้ในการสร้างงาน multimedia แบ่งได้เป็น
1. audio เป็นการรวมทั้งเสียงพูด และเสียงดนตรี ตั้งแต่การประมวลผล การแสดงผล การจัดการต่างๆ เช่น การบีบอัดสัญญาณ การสื่อสาร การส่งสัญญาณ
2. image เป็นการพัฒนา และประยุกต์ใช้ภาพ การจัดการฟอร์แมต คลังภาพ การค้นหา การสร้าง และตกแต่งภาพ
3. text เกี่ยวกับข้อความหรือ ตัวอักษร ทั้งการใช้ และลักษณะรูปแบบของ ข้อความแบบต่างๆ
4. animation & 3d เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแสดงผล ด้นภาพเคลื่อนไหว ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การสร้างภาพเสมือนจริง (vr- virsual reality) การสร้าง ตกแต่ง ประมวลผล การใช้งาน
5. เทคโนโลยีกับระบบการศึกษา เป็นการศึกษาเพื่อนำเอา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับ ระบบการศึกษา ในรูปของ
cai – computer aided instruction, cbt – computer based training ตลอดจนงานประชาสัมพันธ์ โฆษณา สร้างภาพยนตร์
6. publishing เป็นการนำเอามัลติมีเดีย มาใช้ด้านงานพิมพ์ เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับงานพิมพ์ มีรูปแบบที่โดดเด่น และนำเสนอ หรือพิมพ์ลงสื่อได้หลากรูปแบบ เช่น งาน DTP - Desktop Publishing, CD-ROM Title & Publishing
7. broadcasting & conferencing ส่งเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูล เผยแพร่สัญญาณ เช่น Conference, Multicasting Backbone เป็นต้น
8. storage เกี่ยวข้องกับสื่อบันทึกข้อมูล ทั้งเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อ รูปแบบการบีบอัดข้อมูล รูปแบบการบันทึกข้อมูล
9. เทคโนโลยี www & hypertext เป็นช่วยให้เกิดการเผยแพร่สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบที่นิยมมากที่สุด และเร็วที่สุด ผ่านระบบ WWW และมีระบบโต้ตอบด้วยเทคโนโลยี HyperText & HyperMedia
10. media archives ซึ่งเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และการเรียกค้นภายหลัง เช่น Photo & Image Server, AVI archives

เทคโนลยีที่เกี่ยวข้องมีดังนี้
-เทคโนโลยีเกี่ยวกับเสียง (Audio Technology) ซึ่งรวมทั้งเสียงพูด และเสียงดนตรี ตั้งแต่การประมวลผล การแสดงผล การจัดการต่างๆ เช่น การบีบอัดสัญญาณ การสื่อสาร การส่งสัญญาณ
-เทคโนโลยีเกี่ยวกับวีดิโอ (Video Technology) อันได้แก่ การจัดเก็บ การประมวลผล การปรับแต่ง การใช้งาน การเรียกหา สืบค้น การส่งกระจาย มาตรฐานการบีบอัดสัญญาณ การเข้าและถอดรหัส การส่งข้อมูล การทำงานร่วมกับสื่ออื่นๆ
-เทคโนโลยีรูปภาพ (Image Technology) เป็นการพัฒนา และประยุกต์ใช้ภาพ การจัดการฟอร์แมต คลังภาพ การค้นหา การสร้าง และตกแต่งภาพ
-เทคโนโลยีข้อความ (Text Technology) เกี่ยวกับข้อความหรือ ตัวอักษร ทั้งการใช้ และลักษณะรูปแบบของ ข้อความแบบต่างๆ
-เทคโนโลยีภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ (Animation & 3D Technology) เป็นเทคโนโลยีเกี่ยวกับการแสดงผล ด้นภาพเคลื่อนไหว ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ การสร้างภาพเสมือนจริง (VR - Visual Reality) การสร้าง ตกแต่ง ประมวลผล การใช้งาน
-เทคโนโลยีการพัฒนา (Authoring System Technology) คือ เทคโนโลยีที่ได้พัฒนา เพื่อสร้างเครื่องมือสำหรับ งานพัฒนามัลติมีเดีย ในรูปของ ซอฟต์แวร์ช่วย ในการนำข้อมูล เนื้อหา (Content) เข้าไปเก็บตามสื่อรูปแบบต่างๆ ที่วางไว้ เพื่อนำเสนอ เช่น การใช้เครื่องมือต่างๆ หรือการสร้างเครื่องมือใหม่ๆ
-เทคโนโลยีกับระบบการศึกษา เป็นการศึกษาเพื่อนำเอา เทคโนโลยีมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับ ระบบการศึกษา ในรูปของ CAI - Computer Aided Instruction, CBT - Computer Based Training ตลอดจนงานประชาสัมพันธ์ โฆษณา สร้างภาพยนตร์
-เทคโนโลยีการผลิต (Publishing Technology) เป็นการนำเอามัลติมีเดีย มาใช้ด้านงานพิมพ์ เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับงานพิมพ์ มีรูปแบบที่โดดเด่น และนำเสนอ หรือพิมพ์ลงสื่อได้หลากรูปแบบ เช่น งาน DTP - Desktop Publishing, CD-ROM Title & Publishing
-เทคโนโลยีการกระจาย (Broadcasting & Conferencing) ส่งเกี่ยวข้องกับการเผยแพร่ข้อมูล เผยแพร่สัญญาณ เช่น Conference, Multicasting Backbone เป็นต้น
-เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล (Storage Technology) เนื่องด้วยข้อมูลด้านมัลติมีเดีย มักจะมีขนาดโต ทำให้ต้องเกี่ยวข้องกับสื่อบันทึกข้อมูลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเกี่ยวกับรูปแบบของสื่อ รูปแบบการบีบอัดข้อมูล รูปแบบการบันทึกข้อมูล
-เทคโนโลยี WWW & HyperText โดยจะช่วยให้เกิดการเผยแพร่สื่อมัลติมีเดียในรูปแบบที่นิยมมากที่สุด และเร็วที่สุด ผ่านระบบ WWW และมีระบบโต้ตอบด้วยเทคโนโลยี HyperText & HyperMedia
-เทคโนโลยีคลังข้อมูล (Media Archives) ซึ่งเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลปริมาณมากๆ และการเรียกค้นภายหลัง เช่น Photo & Image Server, AVI archives